เพื่อความสะดวกรวดเร็วและถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการเมื่อท่านไปติดต่อที่สถานีตำรวจ ท่านควรเตรียมเอกสารต่างๆที่จำเป็นติดตัวไปด้วยคือ
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ ใบแทนฯ หรือ
2. บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ
3. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือ
4. หนังสือเดินทาง (PASSPORT) สำหรับชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาภายในประเทศ
5. สำเนาทะเบียนบ้าน
6. ในกรณีที่ท่านจะไปร้องทุกข์ (แจ้งความ) โดยเป็นตัวแทนของผู้อื่นให้นำ หลักฐานต่างๆ ดังนี้ติดตัวไปด้วย
6.1 ใบสำคัญแสดงการเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์
6.2 ใบสำคัญแสดงการเป็นผู้อนุบาลของผู้ไร้ความสามารถ(ตามคำสั่งศาล)
6.3 ในกรณีที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้ ให้ท่านนำหลักฐานซึ่งแสดงว่าท่านเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานหรือสามีภรรยา (ซึ่งได้จดทะเบียนบ้าน,สูติบัตร,ใบทะเบียนสมรส ฯลฯ) มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ
6.4 ใบสำคัญแสดงการอนุญาตของสามีและภรรยาแล้วแต่กรณีให้ร้องทุกข์แทนหรือเป็นตัวแทนโดยสมบูรณ์
6.5 ในกรณีที่เป็นผู้แทนของนิติบุคคลให้นำ
(1) หนังสือมอบอำนาจของนิติบุคคลเป็นหลักฐานทั้งติดอากรแสดมป์ 5 บาท
(2) หนังสือรับรองนิติบุคคลนั้นของกระทรวงพาณิชย์
กรุงเทพมหานคร แจ้งที่สถานีตำรวจต่างจังหวัด สามารถแจ้งความได้ที่ ที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอหรือสถานีตำรวจ
อายุของบัตร
– กำหนดให้ใช้ได้ 6 ปี เมื่อถึงกำหนดสิ้นอายุบัตร ต้องไปติดต่อขอทำบัตรใหม่ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่บัตรหมดอายุ เว้นแต่บัตรที่ยังไม่หมดอายุ ในวันที่ ผู้ถือบัตรมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ บัตรนั้นสามารถใช้ได้ต่อไปตลอดชีวิต
ความผิด
– ผู้ถือบัตรผู้ใดไม่อาจแสดงบัตรได้ เมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตรขอตรวจมีโทษ ปรับไม่เกิน 100 บาท
– ไม่ยื่นคำขอมีบัตรภายในกำหนดเวลามีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
– บัตรหมดอายุไม่ต่อบัตรภายในกำหนด หรือบัตรหายแล้วไม่ขอมีบัตรใหม่ ภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
– ผู้ไม่มีสัญชาติไทย ผู้ใดยื่นคำขอมีบัตรโดยแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือใช้บัตรซึ่งตนหมดสิทธิ์ใช้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์, จักรยานยนต์,โฉนดที่ดิน,ใบสำคัญประจำตัวต่างด้าว ฯลฯ มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
1. ยื่นคำร้องแจ้งว่าเอกสารดังกล่าวหาย ต่อสถานีตำรวจท้องที่ที่หาย
2. เจ้าพนักงานตำรวจจะทำการสอบสวนว่าหายจริงหรือไม่ แล้วลงประจำวันไว้เป็นหลักฐาน
3. เจ้าพนักงานตำรวจจะออกหลักฐานยืนยันไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. บัตรประจำตัวผู้หาย (ถ้ามี)
2. ใบสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน) ผู้หาย
3. ภาพถ่ายคนหาย (เป็นภาพถ่ายที่ใหม่ที่สุด)
4. ใบสำคัญทางราชการ เช่น ใบเกิด,ใบสำคัญทหาร (ใบกองเกิน, กองหนุน)
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. ใบทะเบียนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ หรือ พาหนะอื่นๆ ที่หาย
2. ใบรับเงินหรือสัญญาซื้อขายเท่าที่มี
3. ถ้าเป็นตัวแทนห้างร้าน บริษัท ไปแจ้งความควรมีหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของหรือผู้จัดการของห้างร้าน บริษัทนั้นๆ ไป รวมทั้งหนังสือรับรองบริษัทด้วย
4. หนังสือเกี่ยวกับการติดต่อหรือเอกสารที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานได้ (ถ้ามี)
5. หนังสือคู่มือประจำตัวรถที่ทางบริษัทห้างร้านจ่ายให้เป็นคู่มือถ้าไม่มีหนังสือคู่มือรถ ให้จำยี่ห้อ สี แบบ หมายเลขประจำวันเครื่องและตัวรถไปด้วย (ถ้ามี)
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. ทะเบียนใบอนุญาตอาวุธปืน
2. ใบเสร็จรับเงินที่บริษัทห้างร้ายขายปืนออกให้
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. ใบเสร็จรับเงินซื้อขาย หรือหลักฐานการแสดงการซื้อขายทรัพย์สินนั้น
2. รูปพรรณทรัพย์สินนั้นๆ (ถ้ามี)
3. ตำหนิหรือลักษณะพิเศษต่างๆ
4. เอกสารสำคัญต่างๆ เท่าที่มี
5. ในกรณีลักทรัพย์ในบ้านเรือน หรือสำนักงานให้รักษาร่องรอยหลักฐานในที่เกิดเหตุไว้ อย่าให้ผู้ใดเข้าไปแตะต้องหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของในที่เกิดเหตุจนเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไปถึง
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. ใบสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน) ของผู้เยาว์
2. รูปพรรณทรัพย์สินนั้นๆ (ถ้ามี)
3. ตำหนิหรือลักษณะพิเศษต่างๆ
4. ใบสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับผู้เยาว์ (ถ้ามี)
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. เสื้อผ้าของผู้ที่ถูกข่มขืนฯ ซึ่งมีคราบอสุจิ หรือรอยเปื้อนอย่างอื่นอันเกิดจากการข่มขืนและสิ่งของต่างๆของผู้ต้องหาที่ตกอยู่ในสถานที่เกิดเหตุ
2. ใบสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน) ของผู้เสียหาย
3. รูปถ่าย หรือที่อยู่ของผู้ต้องสงสัยตลอดจนหลักฐานอื่นๆ
ควรดำเนินการดังนี้
1. ให้ดูแลรักษาสถานที่เกิดเหตุไว้ อย่าให้ผู้ใดเข้าไปแตะต้องหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของต่างๆ ในที่เกิดเหตุ จนกว่าเจ้าพนักงานตำรวจจะไปถึงที่เกิดเหตุ 2. เมื่อพบ มีด ไม้ ปืน ของมีคม หรืออาวุธที่คนร้ายทิ้งไว้ในสถานที่เกิดเหตุ ตลอดจนพยานหลักฐานต่างๆ ที่ตกอยู่ในที่เกิดเหตุ หากปล่อยทิ้งไว้จะสูญหายหรือเสียหาย ให้นำมามอบเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3. รายละเอียดเท่าที่สามารถบอกให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทราบ
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. ใบสำคัญตัวจริง เช่น โฉนด แบบ น.ส.3 แบบ ส.ค. 1 หนังสือสัญญาใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น
2. หนังสือที่ปลอมแปลง
3. ตัวอย่างตราที่ใช้ประทับหรือลายเซ็นในหนังสือ
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. หนังสือหรือหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการถูกฉ้อโกง
2. หนังสือแสดงการเป็นผู้ครอบครองทรัพย์
3. หนังสือหรือหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของทรัพย์
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. หนังสือสำคัญที่เป็นหลักฐานว่าได้มีการมอบหมายทรัพย์ให้ไปจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง
2. ใบสำคัญแสดงการเป็นเจ้าของ
3. สำเนาหรือคำสั่งศาล หรือพินัยกรรมในกรณีผู้กระทำผิดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินผู้อื่นตามคำสั่งของศาลหรือพินัยกรรม
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. สัญญาใบเช่าซื้อหรือสำเนา
2. ใบสำคัญติดต่อซื้อ ขาย เช่า ยืมหรือฝาก
3. ใบสำคัญที่บริษัทห้างร้านออกให้โดยระบุรูปพรรณ ยี่ห้อ สี ขนาดน้ำหนักและเลขหมายประจำตัว
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. หลักฐานต่างๆ แสดงการเป็นเจ้าของหรือครอบครองทรัพย์นั้น
2. หลักฐานหรือสิ่งของที่เสียหายเท่าที่มีหรือเท่าที่นำไปได้
3. หากเป็นของใหญ่โต หรือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ซึ่งไม่สามารถนำติดตัวไปได้ ให้เก็บรักษาไว้อย่าให้เกิดการเสียหายมาขึ้นกว่าเดิมหรือจัดให้คนเฝ้ารักษาไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีต่อไป
หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. เช็คที่ยึดไว้
2. หนังสือที่ธนาคารแจ้งขัดข้องหรือปฏิเสธการจ่ายเงิน
ในกรณีที่ท่านต้องการประกันตัวผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ในชั้นสอบสวนท่านควรมีหลักฐานต่างๆ ดังต่อไปนี้ติดตัวไปด้วย คือ
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. หลักทรัพย์ที่จะใช้เป็นหลักประกัน ได้แก่
2.1 เงินสด (เงินตราของรัฐบาลไทยเท่านั้น)
2.2 โฉนดที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ประเมินราคาแล้วหรือพนักงานสอบสวนเชื่อว่าที่ดินมีราคาไม่น้อยกว่าสองเท่าของจำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน
2.3 หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก ) ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ประเมินราคาแล้ว หรือพนักงานสอบสวนเชื่อว่าที่ดินมีราคาไม่น้อยกว่าสองเท่าของจำนวนเงินที่ไว้ในสัญญาประกัน
2.4 พันธบัตรรัฐบาล
2.5 สลากออมสินและสมุดฝากเงินธนาคารประเภทประจำ
2.6 ใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร
2.7 ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย และธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดไปแล้ว
2.8 ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย และธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดไปแล้ว
2.9 เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายหรือรับรอง
2.10 หนังสือรับรองของธนาคาร เพื่อชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีที่ผิดสัญญาประกัน
3. ในกรณีที่ผู้ยื่นขอประกันมีครอบครัวแล้วจะต้องทำหนังสือแสดงการอนุญาตจากสามีหรือภรรยาแล้วแต่กรณีไปด้วย
1. ให้ผู้ที่จะมาขอประกันตัวผู้ต้องหา พบและยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวนที่จะปฏิบัติหน้าที่อยู่ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของคดีหรือไม่ก็ตาม
2. หากไม่อาจเขียนคำร้องประกันได้เอง ให้ร้องขอต่อพนักงานสอบสวนเพื่อสั่งเจ้าหน้าที่ช่วยเขียนคำร้องให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
3. เมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องแล้ว ให้ขอหลักฐานการรับสัญญาประกันซึ่ง ต้องลงเวลารับคำร้องไว้ด้วย
4. เจ้าพนักงานจะพิจารณา แจ้งผลการสั่งคำร้องให้เสร็จภายใน 24ชั่วโมง นับแต่ เวลาที่รับคำร้อง
5. หากไม่ได้รับความสะดวกหรือล่าช้า ให้รีบเข้าพบแจ้งต่อสารวัตรหรือสารวัตร หัวหน้างานคนใดคนหนึ่งทราบทันที
6. ในการยื่นและขอประกันตัวผู้ต้องหานี้ เป็นดุลยพินิจของเจ้าพนักงานตำรวจที่ จะให้ประกันหรือไม่ให้ประกันก็ได้โดยจะพิจารณาถึง
6.1 ความหนักเบาแห่งข้อหา
6.2 พยานหลักฐานที่สอบสวนไปแล้วมีเพียงใด
6.3 พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างใด
6.4 เชื่อถือผู้ร้องขอประกันได้เพียงใด
6.5 ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใด หรือไม่ ผู้ต้องหาน่าจะหลบหนีหรือไม่
7. หากพนักงานเจ้าหน้าที่ตำรวจพิจารณาอนุญาตให้ประกันตัวไปได้ก็จะนำ สัญญาประกันและผู้ยื่นประกันลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน
8. หากเจ้าพนักงานตำรวจไม่อนุญาตให้ประกัน อันสืบเนื่องจากเหตุในข้อ 6 ก็จะแจ้งให้นายประกันทราบและคืนหลักทรัพย์ไป
คำสั่งกรมตำรวจ ที่ 622/2536 ลงวันที่ 15 เมษายน 2536เรื่อง การใช้บุคคลเป็นประกัน หรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวกระทรวงมหาดไทยและกรมตำรวจ มีนโยบายอำนวยความสะดวก ในการให้บริการแก่ประชาชน โดยเฉพาะเรื่องการใช้บุคคลเป็นประกันหรือ หลักประกันในการปล่อยชั่วคราวตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 110 และมาตรา 114 วรรคสอง
บุคคล
– ข้าราชการพลเรือนระดับ 3 ถึง 5 หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า
– ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศ ตั้งแต่ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรีหรือร้อยตำรวจตรีถึงพันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรีหรือพันตำรวจตรี
– ข้าราชการบำนาญตั้งแต่ระดับ 6 หรือเทียบเท่าขึ้นไป
– พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียว กับข้าราชการประจำ
– สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
– สมาชิกสภาจังหวัด
– สมาชิกสภาเทศบาล
– สมาชิกสภาเมืองพัทยา
– สมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
– กรรมการสุขาภิบาล
– กำนัน
ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกินหกหมื่นบาท
บุคคล
– ผู้ใหญ่บ้าน
– ข้าราชการพลเรือนระดับ 6 ถึง 8 หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า
– ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศ ตั้งแต่พันโท นาวาโท นาวาอากาศโทหรือพันตำรวจโทถึงพันเอก นาวาเอก นาวา
อากาศเอกหรือพันตำรวจเอกพนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียว กับข้าราชการประจำ
ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเอง ได้ในวงเงินไม่เกินสองแสนบาท- ข้าราชการตุลาการหรืออัยการตั้งแต่ ชั้น 1 ถึง 2
บุคคล
-ผู้ใหญ่บ้าน
– ข้าราชการพลเรือนระดับ 9 ถึง 10 หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า
– ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศ ตั้งแต่พันเอก นาวาเอกนาวาอากาศเอกหรือ พันตำรวจเอกที่ได้รับ อัตราเงินเดือนพันเอก(พิเศษ)นาวาเอก(พิเศษ) นาวาอากาศเอก- (พิเศษ)หรือพันตำรวจเอก(พิเศษ)
– ข้าราชการตุลาการหรืออัยการตั้งแต่ ชั้น 1 ถึง 2
– พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียว กับข้าราชการประจำ
ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกินสองแสนบาท
– ข้าราชการพลเรือนระดับ 11 หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า
– ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศ ตั้งแต่พลโท พลเรือโท พลอากาศโท หรือพลตำรวจโท
– ข้าราชการตุลาการหรืออัยการตั้งแต่ ชั้น 5 ขึ้นไป
– พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียว กับข้าราชการประจำ
– สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการการเมือง หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกินสองแสนบาท
– ให้ผู้ที่ขอทำสัญญาประกันแสดงบัตรประจำตัวต่อพนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบ พิจารณาอนุญาตโดยไม่ชักช้า
– ในกรณีจำเป็นเพื่อทราบเกี่ยวกับสถานะ ระดับ อัตราเงินเดือนหรือ ภาระผูกพัน อื่นใด อาจให้ผู้ยื่นประกันแสดงหนังสือรับรองจาก ต้นสังกัดและภาระผูกพันนั้น ภายในห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้ รับอนุญาตให้ประกัน
– กรณีบุคคลใดได้ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองไว้ แต่หลัก ประกันยังไม่เป็นการ เพียงพอ ให้ใช้บุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติตาม ที่กำหนดไว้หรือใช้หลักทรัพย์อื่นเป็นหลักประกันเพิ่มเติมได้
นายประกันจะต้องนำใบเสร็จรับเงินหรือสำเนาสัญญาประกันตัวผู้ต้องหามาตรวจสอบผลคดีเสียก่อนถ้าผลคดีเสร็จสิ้นก็มอบให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการถอนโดยนำบัตรประจำตัวประชาชนของนายประกันมาแสดงด้วยกรณีนายประกันไม่สามารถมาขอถอนหรือรับหลักฐานด้วยตนเองได้ ก็ให้ทำใบมอบฉันทะแล้ว นำมาแสดงด้วยเพื่อเป็นหลักฐาน
หมายเหตุ : เพื่อความสะดวกในการติดต่อราชการกับหน่วยราชการต่างๆท่านควรมีหลักฐานดังต่อไปนี้ ติดประจำตัวไว้เสมอ คือ
(1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
(2) สำเนาทะเบียนบ้าน
เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการขออนุญาตต่างๆ จึงได้จัดทำเอกสารแนะนำดังต่อไปนี้
1. การขออนุญาตแสดงมหรสพชั่วคราว
กรุงเทพมหานคร :ยื่นคำร้องต่อผู้กำกับหรือรองผู้กำกับหัวหน้าสถานีตำรวจท้องที่เป็นผู้พิจารณาอนุญาต
ต่างจังหวัด :ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่ นายอำเภอเป็นผู้อนุญาตเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ทางอำเภอจะแจ้งให้ตำรวจท้องที่ทราบต้องมีหนังสือยินยอมจากเจ้าของสถานที่ต้องขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียงด้วย (ถ้ามี)
เลิกแสดงมหรสพเวลา 24.00 น.
2. การขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องต่อผู้อำนวยการเขต
ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่
แล้วนำคำร้องมายื่นต่อผู้กำกับหรือรองผู้กำกับท้องที่เพื่อพิจารณามีความเห็นก่อนแล้วนำกลับไปยังเขตหรืออำเภอเพื่ออนุญาตต่อไป
3. การขออนุญาตจุดดอกไม้เพลิง
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องที่สถานีตำรวจท้องที่เพื่อเสนอเรื่องตามลำดับชั้นให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเป็นผู้พิจารณาอนุญาต
ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่
4. การขออนุญาตแสดงมหรสพงิ้ว
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องที่สถานีตำรวจท้องที่พร้อมบทประพันธ์ และคำแปลภาษาไทย, รายชื่อผู้แสดงแผนผังสถานที่และคำยินยอมของเจ้าของสถานที่
ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่พร้อมบทประพันธ์และคำแปลภาษาไทย, รายชื่อผู้แสดงแผนผังสถานที่และคำยินยอมของเจ้าของสถานที่ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณาอนุญาต
5. การขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องต่อแผนกอาวุธปืนกองทะเบียน กรมตำรวจ
ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่
6. การขออนุญาตพกอาวุธปืนติดตัว: ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่ ทางอำเภอยื่นเรื่องราวต่อไปยังจังหวัด ในเขตจังหวัดผู้ว่าราชการเป็นผู้อนุญาตหากทั่วราชอาณาจักร อธิบดีกรมตำรวจเป็นผู้อนุญาตโดยยื่นผ่านกองทะเบียนกรมตำรวจ (เป็นข้าราชการต้องมีคำรับรองความประพฤติและความจำเป็นจากผู้บังคับบัญชาส่วนนอกนั้น ต้องมีคำรับรองจากกำนันผู้ใหญ่บ้าน)
7. การขอรับโอนมรดกอาวุธปืนปฏิบัติเช่นเดียวกับการขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืนใบมรณบัตรของผู้ตายหนังสือพินัยกรรมของผู้ตาย หรือคำสั่งของศาลให้เป็นผู้จัดการมรดก (ถ้ามี)ต้องแจ้งขอรับโอนภายใน 15 วันนับแต่วันรับมรดก
8. การขออนุญาตเล่นการพนันประเภทต่างๆได้แก่การพนันไพ่ต่างๆ,ชกมวย, วัวลาน, และสะบ้าบ่อน
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องที่สถานีตำรวจท้องที่
ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่นายอำเภอเป็นผู้อนุญาตแผนผังบริเวณบ้านที่เล่นการพนัน
9. การขออนุญาตฆ่าสุกร วัว ควาย
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องต่อผู้อำนวยการเขต
ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอหรือประธานกรรมการสุขาภิบาล
10. การขออนุญาตตั้งสมาคม
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องที่สภาวัฒนธรรมแห่งชาติจากนั้นเรื่องจะส่งต่อไปที่แผนก 5 กองกำกับการ 3 กองบังคับการตำรวจสันติบาล 2 กองบัญชาการตำรวจสันติบาล(อาคาร 20 ภายในบริเวณกรมตำรวจ)
ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่ เรื่องจะส่งต่อไปยังจังหวัด จากนั้นจะส่งไปสภาวัฒนธรรมแห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้พิจารณา
11. การขออนุญาตทำหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ ( พาสปอร์ต )
กรุงเทพมหานคร :ยื่นคำร้องต่อกองหนังสือเดินทางกระทรวงต่างประเทศและสาขาย่อยรังสิต โทร 531 – 8441
ต่างจังหวัด :ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่แล้วจังหวัด ส่งต่อไปยังกระทรวงการต่างประเทศพิจารณา
12. การขออนุญาตเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องต่อสถานีตำรวจท้องที่
ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่ออุตสาหกรรมจังหวัด
13. การขออนุญาตขับขี่รถยนตร์และรถจักรยานยนตร์
กรุงเทพมหานคร : ยื่นคำร้องต่อกรมการขนส่งทางบกของแต่ละเขต
ต่างจังหวัด : ยื่นคำร้องต่อกรมการขนส่งจังหวัด
© 2022 by Bangkhen Metropolice station